เมนู

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [3.อัมพัฏฐสูตร] ความเป็นกษัตริย์ประเสริฐที่สุด

ฤๅษีกล่าวว่า ‘พระราชาจะทรงพระเจริญ แต่ถ้าพระราชาจะทรงแผลงศรลงไป
เบื้องต่ำ แผ่นดินจะทรุดทั่วพระราชอาณาเขต’
หมู่อำมาตย์ราชบริพารกล่าวว่า ‘ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระเจ้าอยู่หัวจงทรง
พระเจริญ ขอให้บ้านเมืองจงมีความปลอดภัย’
ฤๅษีกล่าวว่า ‘พระราชาจะทรงพระเจริญ บ้านเมืองก็จะมีความปลอดภัย แต่
ถ้าพระราชาจะทรงแผลงศรขึ้นไปข้างบน ฝนจะไม่ตกทั่วพระราชอาณาเขตตลอด
7 ปี’
หมู่อำมาตย์ราชบริพารกล่าวว่า ‘ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอพระเจ้าอยู่หัวจงทรง
พระเจริญ ขอให้บ้านเมืองจงมีความปลอดภัย ขอให้ฝนจงตกตามฤดูกาล’
ฤๅษีกล่าวว่า ‘พระราชาจะทรงพระเจริญ บ้านเมืองจะมีความปลอดภัย ฝนก็
จะตกตามฤดูกาล ก็ต่อเมื่อพระราชาจะทรงวางพระแสงศรไว้ที่พระราชกุมารพระองค์
ใหญ่ด้วยมุ่งพระทัย ว่า พระราชกุมารจักมีความเจริญ จักหายจากความหวาดผวา’
หมู่อำมาตย์ราชบริพารกราบทูลพระเจ้าโอกกากราชว่า ‘ขอพระเจ้าอยู่หัวทรง
วางพระแสงศรไว้ที่พระราชกุมารพระองค์ใหญ่ด้วยมุ่งพระทัยว่า พระราชกุมารจักมี
ความเจริญ จักหายจากความหวาดผวา’
พระเจ้าโอกกากราชจึงทรงวางพระแสงศรไว้ที่พระราชกุมารพระองค์ใหญ่ พระ
ราชกุมารก็ทรงเป็นผู้มีความเจริญ หายจากความหวาดผวา พระเจ้าโอกกากราชทรง
ตกพระทัยหวาดกลัว พระโลมชาติชูชัน ถูกข่มขู่ด้วยพรหมทัณฑ์ จึงได้พระราชทาน
พระนางมัททรูปีราชธิดาแก่ฤๅษีนั้นไป
มาณพ พวกเธออย่าเหยียดหยามอัมพัฏฐมาณพรุนแรงว่าเป็นลูกของหญิงรับ
ใช้เลย เพราะนายกัณหะนั้นได้เป็นฤๅษีคนสำคัญมาแล้ว”

ความเป็นกษัตริย์ประเสริฐที่สุด

[275] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกะอัมพัฏฐมาณพว่า “อัมพัฏฐะ เธอ
เข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร ขัตติยกุมารในโลกนี้อยู่ร่วมกับนางพราหมณกัญญา จนมี
บุตร บุตรที่เกิดจากนางพราหมณกัญญากับขัตติยกุมาร ควรจะได้นั่งร่วมกันหรือ
กินดื่มร่วมกันกับพวกพราหมณ์บ้างหรือไม่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :96 }


พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [3.อัมพัฏฐสูตร] ความเป็นกษัตริย์ประเสริฐที่สุด

เขากราบทูลว่า “ควรจะได้ ท่านพระโคดม”
“พราหมณ์ควรจะเชิญเขาให้มาบริโภคในงานเลี้ยงเพื่อผู้ตาย งานมงคล งาน
ยัญพิธีหรืองานเลี้ยงแขกเหรื่อบ้างหรือไม่”
“ควรเชิญให้มาบริโภค”
“พราหมณ์ควรจะบอกมนตร์ให้เขาหรือไม่”
“ควรจะบอก”
“เขาควรถูกห้ามเกี่ยวข้องกับสตรีหรือไม่”
“ไม่ควรถูกห้าม”
“เขาควรจะได้รับอภิเษกเป็นกษัตริย์หรือไม่”
“ไม่ควรจะได้รับ”
“ข้อนั้น เพราะเหตุไร”
“เพราะเขาไม่บริสุทธิ์ข้างมารดา”
“อัมพัฏฐะ เธอเข้าใจเรื่องนั้นว่าอย่างไร พราหมณกุมารในโลกนี้อยู่ร่วมกับ
นางขัตติยกัญญา จนมีบุตร บุตรที่เกิดจากนางขัตติยกัญญากับพราหมณกุมาร
ควรจะได้นั่งร่วมกันหรือกินดื่มร่วมกันกับพวกพราหมณ์บ้างหรือไม่”
“ควรจะได้ ท่านพระโคดม”
“พราหมณ์ควรจะเชิญเขาให้มาบริโภคในงานเลี้ยงเพื่อผู้ตาย งานมงคล งาน
ยัญพิธี หรืองานเลี้ยงแขกเหรื่อบ้างหรือไม่”
“ควรเชิญให้มาบริโภค”
“พราหมณ์ควรจะบอกมนตร์ให้เขาหรือไม่”
“ควรจะบอก”
“เขาควรถูกห้ามเกี่ยวข้องกับสตรีหรือไม่”

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 9 หน้า :97 }